กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่
ชื่อเรียกตนเอง : ลาหู่, ลาฮู, ลาหู่นะ,
ลาหู่นาเมี้ยว, ลาหู่ซิมี
ชื่อที่ผู้อื่นเรียก : มูเซอ, โลไฮ, ลาหู่,
ลาหู่แดง, ลาหู่ดำ, ลาหู่เซเล
ภาษาที่ใช้พูดและเขียน :
ภาษาลาหู่อยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) สาขาทิเบต-พม่า กลุ่มภาษาโลโลดั้งเดิม (Proto-Lolo)
และแตกสาขาย่อยลงมาในกลุ่มพม่า-โลโล สาขาโลโลกลาง (Central
Lolo) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับภาษาลีซู และภาษาอาข่า
มิติทางประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์
:
ลาหู่ ไม่มีความใดอื่นใด นอกจาก หมายถึง
คนลาหู่เอง คำว่า ลาหู่จึงหมายถึงทั้งคน ภาษา และวัฒนธรรม
นักภาษาศาสตร์จัดให้พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาในกลุ่มภาษาตระกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) สาขาทิเบต-พม่า
และแตกสาขาย่อยลงมาในกลุ่มพม่า-โลโล สาขาโลโลกลาง (Bradley, 1979:
1)
1) ลาหู่หงี (Lahu Nyi) หรือเรียกกันในภาษาไทย
ลาหู่แดง (Red Lahu) (อริยา เศวตามร์, 2559)
คำว่าหงีในภาษาลาหู่ แปลว่า แดง
ซึ่งสันนิฐานว่าน่าหมายถึงแถบผ้าสีแดงที่ติดอยู่ที่เสื้อของผู้หญิงลาหู่
2) ลาหู่นา/ลาหู่นะ (Lahu Na) เป็นกลุ่มที่คนไทยเรียกว่า
ลาหู่ดำ (Black Lahu) โดยคำว่า นะหรือนา
เป็นภาษาลาหู่แปลว่าดำ (Walker, 1974: 264)
ซึ่งคำนี้สันนิฐานน่าน่าจะมาจากการใช้ชุดเสื้อของหญิงลาหู่ซึ่งมีสีดำเป็นสิ่งที่บ่งบอกความแตกต่างจากลาหู่กลุ่มอื่น
ลาฮู ผู้เขียนสันนิษฐานว่า
คำนี้คนไทยถอดเสียงจากรูปคำในภาษาอังกฤษ“La’hu” ที่นักวิชาการตะวันตกสมัยอาณานิคมใช้เขียนถึงคนลาหู่
คำว่า “ลาฮู” ปรากฏอยู่ในงานเขียนข้าราชการนักศึกษารุ่นที่
18 โรงเรียนสงครามจิตวิทยา กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด
(สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ, 2518:
7)
มูเซอ ชื่อนี้มาจากภาษาพม่าคำว่า “มกโซ” แปลว่า
พรานป่าหรือนักล่าสัตว์ เป็นชื่อที่คนไทยใหญ่ในพม่ายืมมาใช้เรียกคนลาหู่ (จิตร
ภูมิศักดิ์, 2562: 331; สุรพงษ์ บุญนาค
2506:194) โดยภายหลังคำนี้คนไทยก็รับมาใช้ในการเรียกคนลาหู่ด้วย
ในภาษาอังกฤษมีการสะกดชื่อนี้อย่างแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เช่น Mussur
(Walker, 1974: 255) Mushso/Mussuh/Musso/Muhso/Muser
(Howard, 2005: 92), Musir/ Musor, Muhso (Schliesinger, 2005: 105)
โลไฮ
เป็นคำที่ปรากฏอยู่ในงานของข้าราชการนักศึกษารุ่นที่ 18 โรงเรียนสงครามจิตวิทยา
กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ชื่อ “ชาวเขาเผ่ามูเซอ” คำนี้ถอดคำมาจากคำว่า
“Lo-Heir” ในภาษาอังกฤษที่ใช้โดย James A. Matisoff (สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ, 2518: 6) นอกจากคำนี้แล้ว ยังมีอีกสองคำที่อ่านออกเสียงใกล้เคียงด้วย
แต่เขียนสะกดไม่เหมือนกันคือ คำว่า “หล่อเฮย” (จิตร ภูมิศักดิ์, 2562: 399) หรือ “หล่อเห่อ” (อาริยา เศวตามร์, 2559:
17) ประการสำคัญคือ ในภาษาอังกฤษเองก็มีการสะกดคำดังกล่าวอย่างแตกต่างกันด้วย เช่น
“Leheirh” (Scott and Hardiman: 1900: 579 อ้างใน Walker
(1974 : 257) หรือ Lo-hei (Ruey Yih-fu, 1937:1
อ้างใน Walker, 1974 : 257)
สำหรับความหมายของในงานของนักมานุษยวิทยาจีนชื่อ ชี้ให้เห็นว่า
คำดังกล่าวมีความหมายที่เชื่อมโยงกับ “blackness” ตามที่ในภาษาจีนนั้นคือดำคือคำว่า
“hei” คำเรียกชื่อดังกล่าวจึงอาจเป็นคำเชิงดูถูกดูแคลนได้
อย่างไรก็ตามชื่อนี้ก็ไม่ได้เป็นชื่อทางการที่รัฐบาลจีนหลังการปฏิวัติปี ค.ศ. 1949
ใช้ในการเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ในจีน
แม้โดยภาพรวมในอดีตจะเคยเป็นคำที่ชาวจีนใช้ในการเรียกคนกลุ่มชาติพันธุ์นี้โดยรวมก็ตาม
(SCMP, 1953 อ้างใน Walker, 1974:
257)
ลาหู่เซเล (Lahu Sheleh) เป็นคำที่กลุ่มลาหู่ที่เรียกตนเองว่าลาหู่หงีในไทยใช้เรียกใช้เรียกกลุ่มที่เรียกตนเองว่าลาหู่นาในไทย
หรือคนไทยเรียก “มูเซอดำ”
ลาหู่ปาลิ (Lahu Pa Li) เป็นชื่อที่กลุ่มลาหู่เซเลใช้เรียกกลุ่มลาหู่หงี
ลาหู่แดง
เป็นคำที่คนอื่นเรียกคนที่เรียกกลุ่มลาหู่ที่เรียกตนเองว่าลาหู่หงี
ลาหู่ดำ
เป็นคำที่คนอื่นเรียกกลุ่มลาหู่ที่เรียกตนเองว่าลาหู่นะ/ลาหู่นา
ลาหู่ซิมี
ไม่ปรากฏแหล่งอ้างอิง
ลาหู่นาเมี้ยว ไม่ปรากฏแหล่งอ้างอิง
------------------------------------------------
เอกสารและสิ่งอ้างอิง
ผศ. ดร.เอกรินทร์ พึ่งประชา
ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ
กมลวรรณ วังมณี. (2551).
อาหารท้องถิ่นไทยในมิติวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ข้าวปุกของชาวเขาเผ่าอาข่าและลาหู่
ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย.
วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป).มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
กาญจนา จันทร์หอมสกุล.
(2548).ความพึงพอใจของชนเผ่าลาหู่แดงต่อบทบาทหน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน:กรณีศึกษาบ้านจะบูสี
หมู่ 5 ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(พัฒนาชุมชน). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชลดา มนตรีวัต. (2541).
การสร้างความเป็นหญิงชายทางสังคม และจริยธรรมในชุมชนลาหู่ : กรณีศึกษาหญิงลาหู่.
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาชุมชน). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีรพงษ์ บุญรักษา และชูศักดิ์
สุวิมลเสถียร. (2559). “การจัดการวัฒนธรรมชุมชน
: ภูมิปัญญาในการเสริมสร้างความมั่นคงผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนลาหู่ อำเภอแม่อาย
จังหวัดเชียงใหม่,” วารสารศิลปกรรมบูรพา. ปีที่ 19, ฉบับที่ 1 (มิ.ย.-พ.ย.): 93-113.
ธันยา พรหมบุรมย์. (2550).
การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหัตถกรรมท้องถิ่นและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวง:
กรณีศึกษาผ้าทอชาติพันธุ์ลาหู่. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).
ลลิตา จรัสกร. (2557).
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นลาหู่และการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน.
วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรม). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ลาเคละ จะทอ. (2548).
การต่อสู้เรื่องสัญชาติของผู้หญิงชนเผ่า:
กรณีศึกษาชีวิตจริงของผู้หญิงลาหู่คนหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(สตรีศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมบัติ บุญคำเยือง. (2540).
ปัญหาการนิยามความหมายของป่า และการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่: กรณีศึกษาชาวลาหู่.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาชุมชน). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สาริณีย์ ภาสยะวรรณ. (2554).
การเมืองของการสร้างภาพตัวแทนทางชาติพันธุ์ในพื้นที่การท่องเที่ยว:
กรณีศึกษาโฮมสเตย์ชาวลาหู่ บ้านยะดู. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาชุมชน).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุนิษา สุกิน. (2552).การเต้นจะคึของลาหู่นะ
(มูเซอดำ) กรณีศึกษา ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (นาฏยศิลป์ไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุสิธารา จันตาเวียง. (2555).
การศึกษาศักยภาพของชุมชนเพื่อจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าลาหู่บ้านท่าฮ่อ
ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
เชียงราย
อมร แก้วเป็ง. (2553).
รูปแบบการเสริมสร้างชุมชนให้กลับฟื้นคืนวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเขาเผ่าลาหู่:
กรณีการผลิตข้าวซ้อมมือ.รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น).
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรรถพงษ์ อินทพงษ์. (2551).
การศึกษาคุณภาพชีวิตตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทยภูเขา ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย
จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม).
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น